โทรทัศน์ครู

วันพุธที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนครั้งที่ 5


บันทึกการเรียนครั้งที่  5     วันพุธที่  1   กุมภาพันธ์  2560 


ครั้งที่  5



ความรู้เชิงคณิตศาสตร์

ความรู้เชิงคณิตศาสตร์

           ความรู้เชิงคณิตศาสตร์เกี่ยวข้องกับความรู้ 4 ประเภท ดังนี้

1. ความรู้ทางกายภาพ Physical Knowledge
        เป็นความรู้ที่ได้จากการสังเกตสิ่งต่างๆ ด้วยการรับรู้จากประสาทสัมผัส เช่น สี รูปร่างลักษณะ ขนาด

2. ความรู้ทางสังคม Social Knowledge
        เป็นความรู้ที่ได้จากการมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่น เป็นสิ่งที่เราได้จากการเรียนรู้ เช่น หนึ่งสัปดาห์มี 7 วัน หนึ่งปีมี 12 เดือน เป็นต้น  
 
3. ความรู้เชิงตรรกศาสตร์คณิตศาสตร์ Logical-mathematics Knowledge
          เป็นความเข้าใจในเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งต่างๆ จากการสังเกต สำรวจ และทดลองกระทำกับสิ่งต่างๆ เพื่อจัดระบบและเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของสิ่งเหล่านั้น เช่น การนับจำนวนสิ่งของกลุ่มหนึ่งและนับจำนวนทั้งหมดเท่ากับสี่ ซึ่งจำนวนสี่เป็นค่าของจำนวนสิ่งของทั้งหมดในกลุ่ม หากแยกออกจากกลุ่มจะไม่ได้มีความหมายเท่ากับจำนวนสี่

4. ความรู้เชิงสัญลักษณ์ Symbolic Knowledge
          เป็นความรู้เกี่ยวกับวิธีการแสดงสิ่งที่รู้ด้วยสัญลักษณ์ ต้องอาศัยการมีปฏิสัมพันธ์โดยตรงกับสิ่งนั้นและสามารถสร้างเป็นความรู้เชิงตรรกศาสตร์ โดยมีความเข้าใจในสิ่งนั้นอย่างชัดเจนจนสามารถนำสิ่งอื่นหรือสัญลักษณ์มาแทนได้ เช่น เมื่อนับผลไม้จำนวน 8 ผลในตะกร้า แล้ววาดวงกลมให้เท่ากับจำนวนผลไม้ โดยเขียนตัวเลข 8 แทนจำนวนผลไม้ทั้งหมด

สาระและมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัย

           รู้หรือไม่เด็กปฐมวัยเรียนรู้อะไรในคณิตศาสตร์?

        เราให้เด็กได้เตรียมพร้อมด้านต่างๆ ทางคณิตศาสตร์ที่เป็นพื้นฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ในชั้นประถมศึกษา

           ทักษะและมาตรฐานการเรียนรู้

สาระที่ 1 : จำนวนและการดำนวนการ
สาระที่ 2 : การวัด
สาระที่ 3 : เรขาคณิต
สาระที่ 4 : พีชคณิต
สาระที่ 5 : การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
สาระที่ 6 : ทักษะและกระบวนการทางคณิศาสตร์

            สาระและมาตรฐานการเรียนรู้สู่การปฏิบัติในชั้นเรียน
สาระที่ 1 : จำนวนและการดำนวนการ
          มาตรฐาน ค.ป. 1.1 เข้าใจถึงความหลากหลายของการแสดงจำนวนและการใช้จำนวนในชีวิตจริง ซึ่งในเรื่องของจำนวน เด็กสามารถที่จะ
     - การใช้จำนวนบอก ปริมาณที่ได้รับ
     - การอ่านตัวเลขฮินดูอารบิก และตัวเลขไทย
     - การเขียนตัวเลขฮินดูอารบิกแสดงจำนวน
     - การเปรียบเทียมจำนวน
     - การเรียงลำดับจำนวน
 
   การรวมและการแยกกลุ่ม
     - ความหมายของการรวม
     - การรวมสิ่งต่างๆ สองกลุ่มที่มีผลรวมไม่เกิน 10
     - ความหมายของการแยก
     - การแยกกลุ่มย่อยจากกลุ่มใหญ่ที่มีจำนวนไม่เกิน 10







การจำแนกสิ่งของที่ไม่ใช่ปากกา










สาระที่ 2 : การวัด
           มาตรฐาน ค.ป. 2.1 เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการวัดความยาว น้ำหนัก ปริมาตร เงิน และเวลา เช่น การเปรียบเทียบปริมาตรโดยการตวง เป็นต้น









ประเมินการเรียนการสอน

ประเมินสภาพห้องเรียน

ห้องเรียนสะอาด อากาศเย็นสบาย อุปกรณ์ครบครัน

ประเมินตนเอง

ตั้งใจเรียนให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมมีพูดคุยบ้างเล็กน้อยในเวลาเรียน

ประเมินเพื่อน

เพื่อนพูดคุยกันขณะที่อาจารย์กำลังสอน แต่ทุกกลุ่มและทุกคนให้ความร่วมมือดี

ประเมินอาจารย์

อาจารย์เข้าสอนช้า แต่เนื้อหาการสอนครบถ้วน เป็นกันเอง สนุก  อาจารย์ตั้งใจสอนดีมาก










ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น